ถือเป็นข่าวที่ดีอีกหนึ่งเรื่อง สำหรับผูัที่มีรถยนต์ และเมื่อรถประสบ อุ บัติ เหตุ ต้องนำรถนั้นส่งซ่อม เพราะจากกรณีที่ คปภ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้ทำการแก้ปัญหาบริษัทประกัน ที่ไม่จ่ายค่าขาดประโยชน์ให้กับเจ้าของรถ ผู้ที่ควรได้ ในช่วงที่ระหว่างซ่อม
โดยจะสั่งให้ทุกบริษัทต้องจ่ายวันละ 500 ถึง 1,000 บาท คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในต้นปี 2562 นั้น
ที่ผ่านมานั้น ปัญหาในเรื่องของการร้องเรียนจากกรณีการเรียกร้องค่าขาดผลประโยชน์จากการใช้รถก็คือ บริษัทประกันไม่ยอมจ่ายค่าขาดผลประโยชน์ เหตุเพราะว่าประชาชนไม่มีความรู้หรือมีการจ่ายในอัตราที่ต่ำ ดังนั้นจึงมีการปรับหลักเกณฑ์ใหม่ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ คปภ.ได้ข้อสรุปในการปรับปรุงความคุ้มครองของค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ให้แก่เจ้าของรถยนต์ที่ทำประกันและอยู่ระหว่างนำไปเคลมซ่อมแล้ว โดยจะกำหนดการจ่ายเป็น 3 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งกำหนดอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
กลุ่มที่ 2 รถยนต์รับจ้างสาธารณะขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท
กลุ่มที่ 3 รถยนต์ขนาดเกินกว่า 7 ที่นั่งกำหนดอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
ทั้งนี้ทั้งนั้นยังได้กล่าวถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกว่าถ้า
“หากบริษัทใด ฝ่าฝืนมีความผิดฐานขัดคำสั่งนายทะเบียน ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย ถือได้ว่าบริษัทจงใจฝ่าฝืนข้อตกลงแห่งสัญญาประกันภัย
หรือข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ใดๆ ที่มีความชัดเจนให้บริษัทมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือบุคคลผู้มีสิทธิ์เรียกร้องหรือได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัย
อาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐานประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งมีบทลงโทษในอัตราที่สูง ปรับไม่เกิน 500000 บาท และถ้าเป็นกรณีการกระทำผิดต่อเนื่องให้ปรับอีกไม่เกินวันละ 20000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่”
ที่มา เรื่องจริงวันนี้
เหตุเกิด4เม.ย62 หน้าบ้านซิโก้(น้ำพอง)รถเคลมซ่อม5วันเสร็จ20พ.ค62ยื่นเอกสาร21พ.ค62ปัจจุบันนี้ยังไม่ได้รับค่าเสียประโยชน์เลยครับ(บ.มิตรแท้ฯ)โทรตามเรื่อง ..รับแบบเสียไม่ได้ สนง.ก็ไม่มีครับ
ต้องทำอย่างไรบ้างคะ และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
ใช่จ้า เราต้องไม่เป็นฝ่ายผิดด้วย
ต้องเป็นกรณีที่มีคู่กรณีเท่านั้น หรือได้ทุกกรณีคะ